Behind Nurse


เส้นทางสู่อาชีพ...พยาบาล


ลักษณะงาน
มีหน้าที่ให้บริการพยาบาลแก่ผู้ป่วยทั้งทางกายและทางจิต ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บหรือทุพพลภาพและผู้สูงอายุในสถาบันที่มีการรักษาการป้องกันโรคการส่งเสริมสุขภาพวางแผนและให้บริการด้านพยาบาลสวบูรณ์แบบตามตามหลัก วิทยาศาสตร์โดยคำนึงถึงความต้องการของแต่ละคนตามลักษณะของโรคที่เป็นสังเกต และบันทึกความเปลี่ยนแปลงในคนไข้ รายงานให้แพทย์ทราบหากเกิดอาการผิดธรรมดาของร่างกายอารมณ์และจิตใจซึ่งมี ความสำคัญในการวินิจฉัยโรค จัดให้คนไข้ได้มีสิ่งแวดล้อมที่ถูกหลักอนามัยเรียบร้อยและปลอดภัย ป้องกันและควบคุมการเผยแพร่ของโรคติดเชื้อ สอนคนไข้ ครอบครัวคนไข้และประชาชนทั่วไปให้รู้จักรักษาและส่งเสริมสุขภาพอนามัย



คุณลักษณะของผู้ประกอบอาชีพ

1. ควรเป็นผู้มีสติปัญญาดีพอควร เพราะการเรียนจะต้องมีพื้นฐานมาจากวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
2. เป็นผู้มีจิตใจเมตตากรุณา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เห็นอกเห็นใจเพื่อนมนุษย์ที่ถูกโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน


การศึกษาและการฝึกอบรม
เป็น ผู้ที่จบ ม.6 สายวิทยาศาสตร์ และเข้าศึกษาต่อที่ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชน หลักสูตร 4 ปี หรือศึกษาต่อในวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ในสังกัดสถาบันบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข หรือวิทยาลัยพยาบาลในสังกัดกรุงเทพมหานคร หรือวิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย


โอกาสก้าวหน้าในอาชีพ
พยาบาล มีโอกาสทำงานทางด้านการบริการสุขภาพอนามัยของประชาชนได้มากมาย เช่น เป็นพยาบาลอนามัยในชุมชน, เป็นพยาบาลในโรงพยาบาล, เป็นพยาบาลในโรงเรียนพยาบาล, เป็นพยาบาลประจำองค์การ, เป็นพยาบาลประจำสถานศึกษา, เป็นพยาบาลประจำคลีนิคเอกชน, เป็นพยาบาลประจำโรงงานอุตสาหกรรม, เป็นพยาบาลประจำสายการบินต่างๆ, เป็นพยาบาลในราชการทหารทุกกองทัพ, เป็นพยาบาลพิเศษเฉพาะผู้ป่วยแต่ละราย, ตั้งสถานพยาบาลผดุงครรถ์ส่วนตัว ฯลฯ สามารถศึกษาต่อในระดับปริญญาโท-เอกได้ทั้งในและต่างประเทศ



 ข้อมูลจากการวิจัยที่เกี่ยวกับคุณภาพบริการพยาบาลและพฤติกรรมที่พึงประสงค์ตามความคาดหวังของผู้ใช้บริการ


จากการพัฒนารูปแบบของกรอบแนวคิดของคุณภาพบริการและระเบียบวิธีการวัดการรับรู้ คุณภาพบริการของผู้รับบริการของ Parasura man , Zeithaml และ Berry (1985 อ้างในพัชรี ทองแผ่.2500) พบว่าในการรับบริการผู้รับบริการใช้เกณฑ์ 5 ประการ ในการกำหนดคุณภาพบริการ คือ

1. ความเป็นรูปพรรณของบริการ (Tangibles)
2. ความไว้วางใจได้ (Reliability)
3. การตอบสนองต่อผู้รับบริการทันที (Responsiveness)
4. ความน่าเชื่อถือ (Assurance)
5. การเข้าใจและรู้จักผู้รับบริการ (Emphathy) 
          และจากการศึกษาวิจัยในประเทศไทยเกี่ยวกับการรับรู้และควาดคาดหวังของผู้ใช้บริการพยาบาลผู้ป่วยหรือผู้ใช้บริการที่เข้ามารับบริการพยาบาลส่วนมากไม่มีความเชิงวิชาชีพดังนั้นเมื่อเข้ามารับบริการจึงมุ่งหวังเพียงความถูกต้องและความถูกใจของบริการที่จะได้รับซึ่งคุณภาพของงานบริการที่ผู้ป่วย/ผู้ใช้บริการคาดหวังจะได้จากบริการพยาบาล คือ
1. การได้รับบริการที่ดี ผู้ใช้บริการมีความรู้
2. การได้รับบริการที่ถูกต้อง เหมาะสม และรวดเร็ว
3. การบริการที่มีความปลอดภัย ได้มาตรฐาน
4. การได้รับการดูแลที่เอื้ออาทร เอาใจใส่ มีอัธยาศัย
5. ความเชื่อมั่นและไว้วางใจได้รวมถึงความน่าเชื่อถือของผู้ให้บริการ
6. การสื่อสารที่เข้าใจ

นอกจากนี้จากการศึกษายังพบว่าปัจจัยที่ส่งผลให้ผู้ใช้บริการมีความคาดหวังแตกต่างกันประกอบด้วย
1. ความคาดหวังที่เกิดจากการบอกเล่าปากต่อปาก
2. ความคาดหวังที่เกิดจากความต้องการส่วนตัวของผู้รับบริการ ซึ่งเป็นความต้องการของแต่ละบุคคลและมีความแตกต่างกันตามภูมิหลังของบุคคล นั้น เช่น เพศ อายุ รายได้ อาชีพ ระดับการศึกษา
3. ความคาดหวังที่เกิดจากประสบการณ์ในอดีต
4. ความคาดหวังที่เกิดจากการโฆษณาประชาสัมพันธ์ของผู้ให้บริการ

จากการศึกษาวิเคราะห์ของทีมแกนนำทั้ง 4 ภาคพบว่าภาพลักษณ์ของผู้ประกอบวิชาชีพ ประกอบด้วย
1. บุคลิกภาพดี
2. กริยาท่าทาง สุภาพ อ่อนโยน กระตือรือร้น
3. มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
4. มีความเชื่อมั่นในตนเอง กล้าแสดงออก
5. มีความรู้
6. เสียสละ
7. มีคุณภาพ และจริยธรรมประจำใจ
8. กล้าตัดสินใจแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้
9. รักษาสิทธิผู้ใช้บริการ


"พยาบาล..เส้นทางแห่งความเสียสละ"

           นาทีแห่งความเจ็บปวดด้วยโรคร้ายหรือความป่วยไข้ หรือนาทีเป็นนาทีตายแห่งชีวิตของผู้คนจากอุบัติเหตุเภทภัย แสงสว่างจากเครื่องแบบสีขาว คือความหวังที่จะต่อลมหายใจ ความหวังนั้นไม่ได้มีเพียงแพทย์เท่านั้น เพราะการเยียวยารักษาพยาบาลความป่วยไข้ ผ่าตัด หรือช่วยชีวิต จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลย หากไม่มีบุคคลสำคัญที่ เรียกว่า"พยาบาล"


"พยาบาล" คือผู้ที่มีวิชาความรู้ในการดูแลมนุษย์ทุกคน ตั้งแต่ก่อนเกิด คือเมื่อแม่ตั้งครรภ์ จนกระทั่งคลอดลูก เรียนรู้วิธีการดูแลทารกแรกเกิด ดูแลเด็กจนเติบโต ดูแลผู้ใหญ่ในฐานะผู้ป่วย ไปจนถึงคนเฒ่าคนแก่ที่ไม่สามารถดูแลตัวเองได้ในยามที่เรียกว่า ไม้ใกล้ฝั่ง จนกระทั่งลมหายใจเฮือกสุดท้ายแห่งชีวิต จึงจะพ้นจากภาระหน้าที่ความรับผิด- ชอบของผู้ที่ได้ชื่อว่า "พยาบาล" และ

"พยาบาล" คือผู้ที่ต้องสลับผลัดเปลี่ยนกันปฏิบัติหน้าที่ตลอด 24 ชั่วโมง เพราะความเจ็บไข้ได้ป่วย คลอดลูก อุบัติเหตุ อาชญากรรม ไปจนถึงวินาศภัย เป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา "พยาบาล" จึงต้องพร้อมเสมอสำหรับการทำหน้าที่ในห้องฉุกเฉิน ห้องคลอด และห้องผ่าตัด นอกเหนือจากการดูแลชีวิตความเป็นอยู่ของคนป่วยที่ต้องพักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลทั้งวันทั้งคืน







"พยาบาล" จึงไม่ใช่เพียงการประกอบอาชีพ เพื่อการมีรายได้ แต่ยังเป็นวิชาชีพ ที่ต้องพร้อมสำหรับการเผชิญหน้ากับทุกสถานการณ์แห่งความหดหู่ โศกเศร้า และกดดันกับนาทีเป็นนาทีตายของทุกชีวิต และพร้อมที่จะเสียสละทุ่มเทแรงกายแรงใจ เพื่อการดูแลช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยความเมตตา

(ขอขอบคุณภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต และ วีดีโอจาก Youtube.com)